ผู้สนใจเข้าศึกษา

หลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)
สาขาวิชาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะและหุ่นยนต์




ชื่อปริญญา

วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะและหุ่นยนต์)
วท.บ. (เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะและหุ่นยนต์)

หลักสูตรระดับปริญญาตรี 4 ปี

จำนวนหน่วยกิต

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 120 หน่วยกิต

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) หรือเทียบเท่า
2.เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) หรือเทียบเท่า ด้านไฟ้ฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ สื่อสาร/โทรคมนาคมหรือที่เกี่ยวข้อง (เข้าศึกษาโดยการเทียบโอนผลการเรียน)
3.เป็นผู้สำเร็จการศึกษาหรือเคยศึกษาระดับปริญญาตรี

หมายเหตุ ข้อ 2 และ 3 สามารถเทียบโอน ยกเว้นรายวิชาเรียนได้ ตามระเบียบของมหาวิทยาลัย

การสำเร็จการศึกษา

1. เรียนครบตามโครงสร้างของหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 120 หน่วยกิตและมีสถานะการเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยไม่น้อยกว่า 6 ภาคการศึกษา ( 3 ปี )
2. กรณีที่สำเร็จการศึกษาระดับ ปวส. ด้านสาขาอิเล็กทรอนิกส์ , เทคนิคคอมพิวเตอร์ , สื่อสาร/ โทรคมนาคม , ไฟฟ้า หรือ ที่เกี่ยวข้อง(ให้เป็นไปตามมติของการพิจารณาสาขาวิชา) สามารถนำผลการศึกษามาเทียบโอนยกเว้น ซึ่งสามารถจะสำเร็จการภายในระยะเวลา 2-3 ปี

โอกาสในการทำงาน

- วิศวกรหรือผู้ช่วยวิศวกรหุ่นยนต์ (Robotic Engineer)
- วิศวกรหรือผู้ช่วยวิศวกรอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Engineer)
- วิศวกรหรือผู้ช่วยวิศวกรควบคุมหุ่นยนต์ (Robotic control Engineer)
- วิศวกรรผู้ช่วยวิศวกรฝ่ายขายหุ่นยนต์ (Robotics sales Engineer)
- วิศวกรผู้ช่วยวิศวกรระบบควบคุมอัตโนมัติ (Automatic System Engineer)
- วิศวกรผู้ช่วยวิศวกร IoT (IoT Engineer)
- ช่างซ่อมบำรุงหุ่นยนต์ (Robotics Maintenance Technician)
- ช่างเทคนิคหุ่นยนต์ (Robotics Technician)
- นักออกแบบประยุกต์หุ่นยนต์ (Robotics application designer)
- นักออกแบบหุ่นยนต์ (Robotics designer)
- นักวิเคราะห์ความปลอดภัยของหุ่นยนต์ (Robotic Security Analyst)
- ผู้จัดการเทคโนโลยีสำหรับหุ่นยนต์ (Technology Manager for Robotics)
- ผู้ประกอบการเริ่มต้นในเทคโนโลยีขั้นสูง (Startup Entrepreneur in High Tech)
- ครูอาจารย์ในสถานศึกษา
- ประกอบอาชีพอิสระอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องทางด้านหุ่นยนต์ ทางด้านระบบอัตโนมัติ ทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ และเทคโนโลยี

ค่าธรรมเนียมการศึกษา

ภาคในเวลาราชการ 11,100 บาท
ภาคนอกเวลาราชการ ภาคเรียนปกติ 11,900 บาท และภาคเรียนฤดูร้อน 8,650 บาท

สิ่งสนับสนุนการศึกษา

- ผ่อนชำระค่าเทอมได้
- กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)
- มีทุนสนับสนุนการศึกษาประเภทต่าง ๆ
- มีสถานประกอบรองรับการฝึกงานและสหกิจศึกษา
- มีสถานประกอบรองรับนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาตามความเหมาะสม